เมนู

" ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมอยู่เป็นทุกข์, ผู้สงบ
ระงับ ละความชนะและความแพ้ได้เเล้ว ย่อมอยู่
เป็นสุข."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชยํ ความว่า ผู้ชนะผู้อื่น ย่อมกลับ
ได้เวร. บทว่า ปราชิโต ความว่า ผู้อันคนอื่นให้เเพ้เเล้ว ย่อมอยู่เป็น
ทุกข์ คือย่อมอยู่ลำบาก ในอิริยาบถทั้งปวงทีเดียว ด้วยคิดว่า " ในกาล
ไรเล่าหนอ เราอาจเห็นหลังของปัจจามิตร ? "
บทว่า อุปสนฺโต ความว่า พระขีณาสพ ผู้มีกิเลสมีราคะเป็นต้น
ในภายในสงบระงับ ละความชนะและความแพ้ได้ ย่อมอยู่เป็นสุข คือ
ย่อมอยู่สบายแท้ ในอิริยาบถทั้งปวง.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องปราชัยของพระเจ้าโภกล จบ.

4. เรื่องเด็กหญิงแห่งตระกูลคนใดคนหนึ่ง [160]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภกุมาริกาคนใด
คนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ " เป็นต้น.

พระศาสดาเสด็จในงานอาวาหมงคล


ได้ยินว่า มารดาของกุมาริกนั้นกระทำอาวาหมงคล นิมนต์พระ-
ศาสดาในวันมงคล. พระศาสดา อันหมู่แห่งภิกษุแวดล้อมเสด็จไปในที่
นั้น ประทับนั่งแล้ว. หญิงสาวแม้คนนั้นแล กระทำการกรองน้ำเป็นต้น
เพื่อหมู่แห่งภิกษุ เที่ยวไป ๆ มา ๆ อยู่. ฝ่ายสามีของนางได้ยืนแลดูนางอยู่
แล้ว. เมื่อเขาแลดูอยู่ ด้วยอำนาจแห่งราคะ, กิเลสในภายในย่อมฟุ้งซ่าน.
เขาถูกความไม่รู้ (ไม่รู้สึก) ครอบงำแล้ว จึงไม่บำรุงพระพุทธเจ้า, ไม่
บำรุงพระมหาเถระ 80, แต่ได้กระทำจิตไว้ว่า " เราจักเหยียดมือออกจับ
(หญิงสาว) นั้น. " พระศาสดาทรงเล็งเห็นอัชฌาสัยของเขาแล้ว. ได้ทรง
กระทำอย่างที่เขาไม่เห็น (หญิง) นั้น. เขาไม่เห็นหญิงนั้นแล้ว จึงได้ยืน
แลดูพระศาสดา. ในกาลที่เขายืนแลอยู่ พระศาสดาตรัสว่า " แน่ะกุมาร
ก็ชื่อว่าไฟ เช่นกับไฟคือราคะ ไม่มี, ชื่อว่าโทษ เช่นกับโทษคือโทสะ
ไม่มี, ชื่อว่าทุกข์ เช่นกับทุกข์เพราะการบริหารขันธ์ ไม่มี, แม้สุขเช่นกับ
นิพพานสุข ไม่มีเหมือนกัน " ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
4. นตฺถิ ราคสโน อคฺคิ นตฺถิ โทสสโม กลิ
นตฺถิ ขนฺธาทิสา ทุกฺขา นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ.